พื้นที่สีเขียวในเมืองคอนกรีต
กชกร วรอาคม ภูมิสถาปนิกนักสร้างสวนผู้ต้องการแทรกพื้นที่สีเขียวในเมืองคอนกรีต กชกร ในวัยเด็กได้เติบโตอยู่ในตึกแถวติดกับถนนอันแสนวุ่นวาย เธอจึงมีเพียงลานจอดรถคอนกรีตเป็นสนามเด็กเล่นและมีแค่เจ้าต้นไม้ต้นน้อยที่พยายามเติบโตผ่านรอยแตกร้าว ซึ่งเธอกับเพื่อนพยายามขุดรูผ่านรอยแตกนี้ให้ใหญ่เพื่อให้สิ่งมีชีวิตนี้สามารถคืบคลานได้มากกว่าเดิม และความพยายามของเธอในครั้งนั้นได้ส่งให้เธอกลายมาเป็นภูมิสถาปนิก เพื่อที่จะสร้างโอกาสในการสานต่อความปรารถนาอันแรงกล้าในการสร้างรอยแตกนั้นเพื่อเชื่อมต่อพื้นคอนกรีตนี้ให้ประสานกับธรรมชาติจากปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพมหานครในปี 2011 ที่เปลี่ยนภาคกลางของไทยให้กลายเป็นทะเลสาบสุดลูกหูลูกตา คนหลายล้านต้องพลัดถิ่น สูญเสียบ้าน ไร้น้ำ ไร้ไฟฟ้าใช้ จึงสะท้อนให้เห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานสมัยใหม่ในการใช้ตึกคอนกรีตสู้กับน้ำท่วมไม่ใช่หนทางแก้ปัญหาแถมเมืองแห่งนี้ยังจะจมลงไปเรื่อย ๆ อีกด้วยดังนั้น กชกร และทีมงานจึงได้เริ่มโครงการจนสามารถชนะการประกวดออกแบบอุทยาน 100 ปีจุฬาฯ ได้สำเร็จ และโครงการนี้ได้กลายเป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่ในรอบเกือบ 30 ปีในพื้นที่ 28 ไร่ เกิดเป็นรอยแตกสีเขียวรอยใหญ่ใจกลางกรุงเทพฯ ซึ่งสวนแห่งนี้ไม่ใช่เพื่อความสวยงามหรือการพักผ่อนเท่านั้นมันต้องช่วยเมืองรับมือกับน้ำช่วยเมืองเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้วยเพราะสวนสาธารณะแห่งนี้มีองค์ประกอบหลักทั้งหมด 3 ประการ ที่ทำงานเป็นระบบเดียวกัน ส่วนแรกคือหลังคาสีเขียวที่มีถังเก็บน้ำฝนไว้และมีพิพิธภัณฑ์อยู่ข้างใต้ โดยในช่วงฤดูแล้งน้ำฝนจะไหลลงไปเก็บไว้ในนั้น จะสามารถนำมารถน้ำต้นไม้ในอุทยานได้ถึงหนึ่งเดือน ส่วนที่สองคือน้ำที่ไหลจากหลังคาสีเขียวลงสู่พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีพืชน้ำพืชถิ่นคอยช่วยกรองและทำความสะอาดน้ำและในส่วนสุดท้ายส่วนที่ต่ำที่สุดจะเป็นบ่อเก็บน้ำซึ่งมีจักรยานน้ำให้คนสามารถปั่นเพื่อช่วยทำความสะอาดน้ำได้อีกด้วย แน่นอนว่าอุทยานแห่งนี้ไม่ได้กำจัดน้ำท่วมออกไปแต่เป็นการสร้างวิถีอยู่ร่วมกับมันอย่างชาญฉลาดกชกร ได้ใช้ภูมิศาสตร์สถาปัตยกรรมในการแก้ปัญหาด้วยการสร้างพื้นที่สีเขียวให้ดูดซับน้ำและสร้างลมหายใจของคนในเมืองอีกครั้งและอีกครั้งด้วยความตั้งใจ และเธอเชื่อว่าต่อให้อุปสรรคจะมากมายแค่ไหน แต่ถ้าพวกเราทุกคนทุกสาขาอาชีพร่วมมือร่วมใจ เราจะสามารถแก้ปัญหากันได้ดังเช่นทุกโครงการที่เธอได้เริ่มทำจนมันสำเร็จ