Climate Change ไม่ใช่เรื่องไกลตัว

เมื่อปัญหา Climate Change ไม่ใช่เรื่องไกลตัว ทั้งเหล่านักวิทย์ฯ ทั่วโลกออกมาเตือน และอุณหภูมิโลกที่พุ่งสูงจนถึงเกือบขีดจำกัดขึ้นทุกวันเนื่องจากปัญหาของโลกในตอนนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ จึงถือกำเนิดเทรนด์ Carbontech Futures ขึ้นมา จากรายงาน The Future 100 ของ Wunderman Thompson ได้บอกไว้ว่าเริ่มมีหลายบริษัทที่เร่งพัฒนา Carbontech กันแล้ว คาร์บอนเทค (Carbontech) เป็นเทคโนโลยีที่มุ่งหวังสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกับคาร์บอนที่ดักจับมา เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าทางการดำเนินงาน พูดง่ายๆ ก็คือนำคาร์บอนที่ดักจับมาไปต่อยอดกับผลิตภัณฑ์อื่น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น นำไปผสมในคอนกรีต หรือนำไปผลิตวัสดุที่มีคาร์บอนเป็นส่วนผสม ซึ่งนอกจากจะช่วยลดคาร์บอนได้แล้ว ยังสร้างมูลค่าได้อีกด้วย Climeworks บริษัทสัญชาติสวิสเซอร์แลนด์ผู้คิดค้นเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนในชั้นบรรยากาศ หรือที่เรียกว่า Direct Air Capture (DAC) ขึ้นมามากไปกว่านั้นได้จับมือร่วมกับ Carbfix ผู้บุกเบิกการจัดการปัญหาคาร์บอนไดออกไซด์ และ ON Power ผู้ให้บริการพลังงานความร้อนใต้พิภพของไอซ์แลนด์ เปิดโรงงานดักจับคาร์บอนใหญ่ที่สุดในโลกบนอุทยานความร้อนใต้พิภพ Hellisheidi ประเทศไอซ์แลนด์ ติดตั้งเครื่องดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดเท่าคอนเทนเนอร์ 8 ตู้ ที่ดักจับและกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 4,000 ตันต่อปี เทียบเท่ากับปริมาณการดูดซัคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีของต้นไม้เกือบ 4 แสนต้นนอกจากนี้ยังมีสตาร์ทอัพจากอิสราเอลอย่าง High Hopes Labs ได้พัฒนาบอลลูนเพื่อดักจับคาร์บอนในชั้นบรรยากาศที่สูงจนมีอุณหภูมิ -80 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้มีการดักจับคาร์บอนได้ง่ายเรียกได้ว่าหลากหลายบริษัทต่างพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถช่วยโลกใบนี้ได้นอกจากจะดักจับคาร์บอนแล้วยังนำไปแปรเปลี่ยนเป็นสิ่งที่มีค่าใช้งานได้อีกด้วย อย่างแบรนด์ Aether ก็ได้ใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สร้างเพชร หรือแบรนด์ Lululemon ที่ร่วมมือกับบริษัท Biotech อย่าง LanzaTech เพื่อสร้างผ้าจากคาร์บอนไดออกไซด์ กันแล้ว คาร์บอนเทค (Carbontech) เป็นเทคโนโลยีที่มุ่งหวังสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกับคาร์บอนที่ดักจับมา เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าทางการดำเนินงาน พูดง่ายๆ ก็คือนำคาร์บอนที่ดักจับมาไปต่อยอดกับผลิตภัณฑ์อื่น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น นำไปผสมในคอนกรีต หรือนำไปผลิตวัสดุที่มีคาร์บอนเป็นส่วนผสม ซึ่งนอกจากจะช่วยลดคาร์บอนได้แล้ว ยังสร้างมูลค่าได้อีกด้วย Climeworks บริษัทสัญชาติสวิสเซอร์แลนด์ผู้คิดค้นเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนในชั้นบรรยากาศ หรือที่เรียกว่า Direct Air Capture (DAC) ขึ้นมามากไปกว่านั้นได้จับมือร่วมกับ Carbfix ผู้บุกเบิกการจัดการปัญหาคาร์บอนไดออกไซด์ และ ON Power ผู้ให้บริการพลังงานความร้อนใต้พิภพของไอซ์แลนด์ เปิดโรงงานดักจับคาร์บอนใหญ่ที่สุดในโลกบนอุทยานความร้อนใต้พิภพ Hellisheidi ประเทศไอซ์แลนด์ ติดตั้งเครื่องดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดเท่าคอนเทนเนอร์ 8 ตู้ ที่ดักจับและกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 4,000 ตันต่อปี เทียบเท่ากับปริมาณการดูดซัคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีของต้นไม้เกือบ 4 แสนต้นนอกจากนี้ยังมีสตาร์ทอัพจากอิสราเอลอย่าง High Hopes Labs ได้พัฒนาบอลลูนเพื่อดักจับคาร์บอนในชั้นบรรยากาศที่สูงจนมีอุณหภูมิ -80 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้มีการดักจับคาร์บอนได้ง่ายเรียกได้ว่าหลากหลายบริษัทต่างพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถช่วยโลกใบนี้ได้นอกจากจะดักจับคาร์บอนแล้วยังนำไปแปรเปลี่ยนเป็นสิ่งที่มีค่าใช้งานได้อีกด้วย อย่างแบรนด์ Aether ก็ได้ใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สร้างเพชร หรือแบรนด์ Lululemon ที่ร่วมมือกับบริษัท Biotech อย่าง LanzaTech เพื่อสร้างผ้าจากคาร์บอนไดออกไซด์