กระทบหนักไปถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป

การรุกรานยูเครนของรัสเซีย ส่งผลกระทบหนักไปถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป
Zaporizhhzhia เป็นโรงไฟฟ้าในยูเครนที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 9 ของโลก ซึ่งแน่นอนว่าการโจมตีของรัสเซียที่โจมตีในพื้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทำให้เกิดความเสี่ยงอันตรายระดับโลก เพราะภัยพิบัติอย่างการปล่อยสารกัมมันตภาพรังสีจากโรงงานนิวเคลียร์ถือเป็นสิ่งอันตรายที่จะส่งผลกระทบไปยังนานาประเทศ ซึ่งโรงงานนิวเคลียร์ในยูเครนนี้มีสารกัมมันตภาพรังสีสูงถึงหลายพันตัน โดยทางกรีนพีซได้เขียนบทวิเคราะห์ไว้ว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริซเซียต้องการระบบสนับสนุนที่ซับซ้อน รวมถึงการประจำการถาวรของบุคลากรที่ผ่านการรับรอง ซึ่งแน่นอนว่าในสภาวะสงครามทำให้ขาดระบบสนับสนุนตรงนี้ไป ซึ่งอาคารเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริซเซียมีโครงสร้างกักเก็บไม่อาจทนต่อผลกระทบของอาวุธยุทโธปกรณ์หนัก และถึงแม้การโจมตีจะไม่ได้มีเจตนาลงที่โรงไฟฟ้าแต่ถ้าเพียงแค่เกิดการโจมตีในพื้นที่นั้นก็อาจเกิดความเสี่ยงได้และสุดท้ายถ้าเกิดเหตุการณ์ที่อาคารกักเก็บเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ถูกทำลายจากการระเบิด กัมมันตภาพรังสีสามารถแพร่กระจายออกสู่ชั้นบรรยากาศได้อย่างอิสระ อาจทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรป รวมทั้งรัสเซีย กลายเป็นพื้นที่ที่ไม่อาจอยู่อาศัยได้เป็นเวลาอย่างน้อยหลายทศวรรษถ้าพูดถึงเหตุการณ์ที่คล้ายกันคงจะต้องย้อนรอยสักนิดกับเหตุการณ์ภัยพิบัติเชอร์โนบิล ที่ทำให้เกิดการปล่อยสารกัมมันตภาพรังสีส่งผลให้พื้นที่ป่าและพื้นที่เพาะปลูกหลายล้านเอเคอร์ปนเปื้อน แต่มีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ BBC รายงานว่า เขตยกเว้นหรือจากเหตุการณ์ภัยพิบัติเชอร์โนบิลนั้นมี Red Forest หรือป่าแดงที่ได้รับกัมมันตภาพรังสีเข้าไปจนต้นไม้กลายเป็นสีแดงน้ำตาลความน่าสนใจอยู่ตรงที่ Red Forest ทำให้เรารู้ว่าต้นไม้มีคุณสมบัติในการ Resilient ต่อกัมมันตภาพรังสี เพราะต้นไม้สามารถกลับมาเติบโตได้ในพื้นที่ปนเปื้อนร้ายแรงด้วยการใช้กลไกพิเศษในการปกป้อง DNA ของมันให้ทนทานต่อการปนเปื้อนได้มากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับในสมัยก่อนที่พื้นผิวของโลกมีการปล่อยรังสีธรรมชาติมากกว่าปัจจุบันซึ่งในสภาพแวดล้อมแบบนั้นต้นไม้ก็สามารถดำรงอยู่ได้ปกติ ส่งผลให้ต้นไม้ในปัจจุบันในพื้นที่ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีอาจจะกำลังปรับตัวให้ย้อนกลับไปเหมือนเมื่อก่อนเพื่อการอยู่รอด นอกจากนี้สิ่งที่ทึ่งกว่าคือ ในเขตยกเว้นหลังผ่านภัยพิบัติไปหลายทศวรรษจำนวนประชากรของป่าไม้และสัตว์กลับมี “มากกว่าตอนก่อนเกิดภัยพิบัติ” ซึ่งถ้าถามว่าปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้ธรรมชาติกลับมาฟื้นฟูคือการที่มนุษย์ไม่ได้อาศัยในที่เหล่านี้นั่นเอง ซึ่งการที่พื้นที่มีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เป็นสิ่งที่ดีต่อโลก ดีต่อมนุษย์ เพราะต้นไม้มีคุณสมบัติมากมายที่จะช่วยในการชะลอการเกิด Climate Change ของโลกเราที่กำลังดำเนินอยู่ ดังนั้นต้นไม้พืชพรรณจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรรักษาและเพิ่มพื้นที่สีเขียวเอาไว้ เราได้แต่คาดหวังว่าสถานการณ์ในยูเครนสงบลงและรัสเซียจะเลิกล้มสงครามครั้งนี้ เพราะสงครามไม่ได้ส่งผลแค่ชีวิตของมนุษย์แต่ยังส่งผลไปยังสิ่งแวดล้อมทั่วโลกอีกด้วย